วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติกองทัพไทย


กองทัพไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพไทย
Emblem of the Royal Thai Armed Forces HQ.svg
เครื่องหมายราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
ก่อตั้ง2395
เหล่าทัพRoyal Thai Army Flag.svg กองทัพบก
Royal Thai Navy Flag.svg กองทัพเรือ
Royal Thai Air Force Flag.svg กองทัพอากาศ
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัฐมนตรีกลาโหมพลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
กำลังพล
อายุถึงขั้น
รับราชการ
21
ประชากร
ในวัยรับราชการ
ชาย 14,903,855  อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
หญิง 15,265,854  อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากร
ฉกรรจ์
ชาย 10,396,032 , อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
หญิง 11,487,690 , อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากรที่อายุถึงขั้น
รับราชการทุกปี
ชาย 526,276 (ประเมิน 2548),
หญิง 514,396 (ประเมิน 2548)
ยอดกำลังประจำการ305,860
ยอดกำลังสำรอง245,000
การเงิน
งบประมาณทางทหาร13,574.394 ล้านบาท (พ.ศ. 2554)[1]
ร้อยละต่อจีดีพี1.8% (ประเมิน 2548)
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจัดชั้นยศยศทหารในกองทัพไทย
กองทัพไทย (อังกฤษRoyal Thai Armed Forces) ได้เกิดขึ้นและมีประวัติควบคู่กับการสร้างชาติไทยมายาวนาน มีภารกิจหลักในการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นรากฐานและหลักประกันค้ำจุนสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติเอกราชมาโดยตลอด

เนื้อหา

  [แสดง

[แก้]ประวัติ

วิวัฒนาการจนเป็นกองทัพไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปี รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ การยกเลิกระบบไพร่ก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เกิดระบบทหารอาชีพขึ้นในประเทศไทย
ในรัชสมัยนี้ เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก จัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด จัดแบ่งกำลังรบออกเป็น 10 กองพล[ต้องการอ้างอิง] จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้วหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบกกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่าง ๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนามการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น

ล่าสุด ทางเว็บไซต์ GlobalFirepower ได้จัดอันดับความแข็งแกร่งของกองทัพไทยอยู่อันดับที่ 19 ของโลก[2]

[แก้]หน่วยงานของกองทัพไทย


[แก้]ความขัดแย้ง

กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค

[แก้]วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

เกิดขึ้นเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามยุคล่าอาณานิคมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอินโดจีนและต้องการครอบครองดินแดนลาวซึ่งในตอนนั้นเป็นของสยามจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามกับสยาม และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามได้บุกเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ไทยต้องยกดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส

[แก้]สงครามโลกครั้งที่ 1

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านได้ตัดสินใจประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 กับอำนาจกลางและเข้าร่วม Entente อำนาจในการต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตก ได้ส่งทหารของกองทัพสยามเดินทางมีทหารทั้งหมด 1,233 คน และยุทธโนปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการฝึกอบรมได้รับคำสั่งจากจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และทางอากาศ สยามเป็นประเทศอิสระเพียงรายเดียวในเอเชียประเทศที่มีกองกำลังในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และได้สงผลให้มีการแก้ไขหรือการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา,ฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ และกองทัพสยามยังได้รับเกียรติเดินขบวนในขบวนแห่งชัยชนะในปารีส
ทหารไทยที่เดินขบวนแห่งชัยชนะในกรุงปารีส

[แก้]กรณีพิพาทอินโดจีน

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 1940 เมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ลัทธิฟาสซิสต์กฎของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจที่จะบุกฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองของวิชี (หลังจากนาซีครอบครองกรุงปารีส) เพื่อนำดินแดนที่ถูกฝรังเศษเอาไปกลับคืนมา

[แก้]สงครามโลกครั้งที่ 2

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องการผ่านดินแดนไทยเพื่อที่จะโจมตีบริติชอินเดียและแหลมมลายูและต้องการใช้กำลังทหารของไทยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกับไทยและสิ้นสุดเมื่อชั่วโมงแรกในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรและยอมให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยได้
สงครามโลกครั้งที่สองไทยได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีพม่าและมาเลเซีย สงครามที่ได้เข้าร่วมได้แก่

[แก้]สงครามเกาหลี

เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี กองทัพไทยให้กรมทหารราบที่ 21 ประมาณ 1,294 คน

[แก้]สงครามเวียดนาม

ทหารไทยที่เข้ารบรบในเวียดนาม
เกิดขึ้นเมื่อมีความคิดที่ว่าจะรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวไม่ ไทยได้ส่งทหารไทยเข้ารบรบกับประเทศที่เป็นพันธมิตร สงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และทหารไทยเสียชีวิต 1,351 นาย

[แก้]การปราบปรามคอมมิวนิสต์ (1976 - 1980)

เกิดเมื่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และ กลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก

[แก้]สงครามบ้านร่มเกล้า

เกิดขึ้นเมื่อลาวได้ยกกำลังเข้ายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น และสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร

[แก้]ติมอร์ตะวันออก (1999-2002)

เกิดเมื่อมีวิกฤตในติมอร์ตะวันออก ไทยร่วมกับประเทศอื่น ๆ 28 ประเทศ ให้มีกองทัพระหว่างประเทศในติมอร์ตะวันออกหรือ INTERFET เริ่มเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1999 ถึง 20 พฤษภาคม 2002

[แก้]สงครามอิรัก (2003-2004)

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพสหรัฐบุกประเทศอิรัก และประเทศไทยได้ส่งกำลังสนับสนุนกองกำลัง 423 ในเดือนสิงหาคม 2003 กองกำลังส่วนใหญ่จากกองทัพบกไทยถูกโจมตีใน 2,003 บาลาระเบิดฆ่า 2 ทหารไทย และบาดเจ็บ 5 คนอื่น ๆ ภารกิจของไทยในอิรักได้รับการพิจารณาที่ประสบความสำเร็จและถอนกองกำลังออกในเดือนสิงหาคม 2004 ภารกิจนี้ถือเป็นเหตุผลหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรนาโต้ที่ไม่ใช่รายใหญ่ในปี 2003

[แก้]ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ (2004 - ต่อเนื่อง)

เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสู้โดยเชื้อชาติมาเลย์และกลุ่มกบฏอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากยะลา ปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในปี 2004 เมื่อการโจมตีของผู้ก่อการร้ายพลเรือนไทยเชื้อชาติก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้น กองทัพไทยในการเปิดการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธหนัก

[แก้]ความขัดแย้งไทยกัมพูชา (2008 - ต่อเนื่อง)

ดูบทความหลักที่ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

[แก้]บทบาทในการเมืองไทย

ทหารไทยเคลื่อนผ่านร่างผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม (19 พฤษภาคม 2553)
กองทัพไทยเริ่มมีบทบาทกับวิกฤตการเมืองของประเทศในปัจจุบันมากขึ้น ผ่านการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[3] นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ผู้บัญชาการกองทัพไทย อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551[4] และปรากฏเป็นข่าวว่า รัฐบาลและกองทัพไทย ร่วมกันออกคำสั่ง ให้กำลังทหารใช้อาวุธสงคราม เข้าสลายการชุมนุมทางการเมือง ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ถึงสามครั้ง คือเมื่อวันที่ 13-14 เมษายน พ.ศ. 2552[5]10 เมษายน[6] และ 13-19 พฤษภาคมพ.ศ. 2553[7] เป็นผลให้มีผู้ชุมนุมและประชาชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เสียชีวิตเกือบ 100 คน บาดเจ็บกว่า 2,000 คน[8] และยังมีผู้สูญหายอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน[9] โดยมีเจ้าหน้าที่บางนายรับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุมด้วยเช่นกัน[10]

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554ราชกิจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 60ก วันที่ 28 กันยายน 2553
  2. ^ GlobalFirepower.com (GFP). สืบค้น 14-9-2554.
  3. ^ Thai PM deposed in military coup จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 20 กันยายน พ.ศ. 2549
  4. ^ Thai army to 'help voters love' the government จากเว็บไซต์ เดอะเทเลกราฟ, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  5. ^ Army pressure ends Thai protest จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 เมษายน พ.ศ. 2552
  6. ^ killed-thai-red-shirt-protesters/story-e6frg6so-1225852976016 Bullets killed Thai Red-Shirt protesters จากเว็บไซต์ ดิออสเตรเลียน, 13 เมษายน พ.ศ. 2553
  7. ^ Deadly clashes as police besiege Bangkok protesters จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  8. ^ รายงานเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. จากเว็บไซต์ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
  9. ^ ญาติแจ้งเสื้อแดงหายช่วงการชุมนุม25ราย จากเว็บไซต์ เดลินิวส์ออนไลน์, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  10. ^ รายงานเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. จากเว็บไซต์ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติธงชาติไทย


ธงชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติไทย
Flag of Thailand.svg
ชื่อธงธงไตรรงค์
การใช้110110
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะธงสามสีห้าแถบ พื้นแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง แถบกลางกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและขาว
ออกแบบโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Naval Ensign of Thailand.svg
ธงชาติไทยในรูปแบบต่าง ๆ
ชื่อธงธงราชนาวี
การใช้000001
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะธงชาติ กลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา
ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา(สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย[1](ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1กับฝ่ายสัมพันธมิตร[2]

เนื้อหา

  [แสดง

[แก้]ประวัติ

[แก้]กำเนิดธงสยาม

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้แต่เพียงความว่า มีการใช้ธงสำหรับเป็นเครื่องหมายของกองทัพกองละสีและใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และยังไม่มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน[3]
ในพระนิพนธ์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจาก จดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 -พ.ศ. 2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย[4]
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย[5][6] อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวงเท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ธงแดงตามเดิม[7]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2398 พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยามแต่เอารูปจักรออก เนื่องจากมีเหตุผลว่า จักรเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระองค์พระมหากษัตีิย์และธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ[8] ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ[5][6] (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน[9])

[แก้]ธงไตรรงค์

ธงช้างเผือกเปล่าได้ใช้เป็นธงชาติสยามสืบมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2459 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัยและทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ ทรงมีพระราชดำริว่า ธงช้างทำยากและไม่ใคร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ โดยธงช้างที่ขายตามท้องตลาดนั้นมักจะเป็นธงที่ผลิตจากต่างประเทศและประเทศที่ทำไม่รู้จักช้าง ดังนั้น รูปร่างของช้างที่ปรากฎจึงไม่น่าดู[4][10] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า "ธงแดงขาว 5 ริ้ว" (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) [11] ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาลสยามยังคงใช้ธงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ แต่ใช้รูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น[11] ซึ่งแต่เดิมธงนี้เป็นธงสำหรับเรือหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440[5] และมีฐานะเป็นธงราชการอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2453[12]
ล่วงมาถึง พ.ศ. 2460 แถบสีแดงที่ตรงกลางธงค้าขายได้เปลี่ยนเป็น "สีขาบ" หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[13] เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะสีน้ำเงินแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วยอีกประการหนึ่ง ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" และอวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วย[14]
ธงไตรรงค์ที่สร้างขึ้นสำหรับกองทหารอาสาในคราวนั้นไม่ใช่ลักษณะอย่างธงไตรรงค์ตามที่กำหนดให้ใช้โดยทั่วไป แต่มีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นสีแดง ลักษณะอย่างเดียวกับธงราชนาวีไทย (ทั้งนี้กำหนดแบบใหม่ให้ใช้พร้อมกันในคราวประกาศเปลี่ยนธงชาติด้วย) ด้านหลังเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ร.ร. ๖ สีขาบ ภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีสีเหลืองในวงกลมพื้นสีแดง ที่แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างทั้งสองด้านจารึกพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก (ภาษาบาลี) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชนิพนธ์แก้ไขในตอนท้ายจาก "ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น "ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ)

ทหารอาสาของไทย ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมการสวนสนามฉลองชัยชนะ ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 โดยเชิญธงไตรรงค์เป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร
พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบรรทึก พระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร[15] ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป[10]
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิม โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พ.ศ. 2479[16] เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์ และหลังจากเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน โดยมีการออกพระราชบัญญัติธงฉบับ พ.ศ. 2522[17] เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์

[แก้]พัฒนาการของธงชาติไทยโดยสรุป

ภาพธงระยะเวลาการใช้การบังคับใช้ธงลักษณะหมายเหตุ
Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน)
ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแดงเกลี้ยงไม่ระบุว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไร
Flag of Thailand (1782).svg
พ.ศ. 2325 - 2360
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปวงจักรสีขาวใช้เฉพาะบนเรือหลวง
Flag of Thailand (1817).svg
พ.ศ. 2360 - 2398
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาวใช้เฉพาะบนเรือหลวง
Flag of Thailand 1855.svg
พ.ศ. 2398 - 2459
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 [18]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116 [5]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 [6]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129[12]
ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธงใช้บนแผ่นดินเป็นธงแรก
State Flag of Thailand (1916).svg
พ.ศ. 2459 - 2460
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ) [12]
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[11]
ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงสำหรับราชการ
Flag of Thailand (1916).svg
พ.ศ. 2459 - 2460
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[11] (ในชื่อ "ธงค้าขาย")ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 9 ส่วน กว้าง 6 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วนสำหรับสามัญชน
Flag of Thailand.svg
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460[13]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479[16]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522[17]
ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง 2 ส่วนใช้ทั่วประเทศ

[แก้]ลักษณะธงตามกฎหมาย

ตามความในมาตรา 5 (1) ของพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2522 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กล่าวถึงลักษณะธงชาติไว้ดังนี้

ภาพแสดงสัดส่วนธงชาติไทยที่ถูกต้อง
ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน[17]

[แก้]ความหมายของธง

ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ [19] แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์[20]
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่าง ๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[21]

[แก้]การชัก ใช้ และแสดงธงชาติไทย


ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยวกับธงที่ได้ริเริ่มมีการจัดระเบียบในสมัยรัชกาลที่ 5: (ซ้าย) พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก 110 ตราไว้เมื่อ พ.ศ. 2434, (ขวา) พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 118 ตราไว้เมื่อ พ.ศ. 2442
ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงปกครองนั้น การประดับ ชัก ใช้ และแสดงธงชาติด้วยวิธีการต่าง ๆ มักเป็นไปตามธรรมเนียมที่ใช้สืบต่อกันมา ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แม้จะเริ่มมีการจัดระเบียบธงด้วยกฎหมายต่าง ๆ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2434 เป็นต้นมา ก็ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการชัก ใช้ และแสดงธงอย่างชัดเจนนัก
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลไทยจึงเริ่มจัดระเบียบการใช้ธงชาติขึ้นอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยออกระเบียบการชักธงชาติสยามประกอบอยู่ในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479ปรากฏในในมาตรา 17-20 บทบังคับทั่วไปได้กล่าวถึงระเบียบการชักธงชาติ และข้อควรปฏิบัติต่อธงชาติ และในบทกำหนดโทษ ท้ายพระราชบัญญัติ ในมาตรา 21-23 ก็ได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบังคับ มีทั้งปรับเป็นเงิน จำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำ หนักเบา แล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำ[16] ซึ่งต่อมา ก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับต่าง ๆ อีกหลายฉบับ อาทิ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการชักธงชาติ[22] ระเบียบการชักธงชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๘[23] เป็นต้น โดยกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ต้องใช้ธงชาติสำหรับชักขึ้นและลงตามที่ราชการกำหนด รวมทั้ง ต้องประดับธงชาติไว้ ณ สถานที่อันสมควรเป็นการถาวรและสม่ำเสมอ สำหรับภาคเอกชนและบ้านเรือนของประชาชนทั่วไปนั้นให้อนุโลมดำเนินการไปในทางเดียวกัน[24][25]
ระเบียบเกี่ยวกับธงชาติที่บังคับทั่วไปในปัจจุบันนี้ บังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 (แก้ไขเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547[26][27][28] ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญบางข้อ ดังนี้

[แก้]การชักธงชาติในราชอาณาจักร

โอกาสและวันพิธีสำคัญที่ต้องมีการชักและประดับธงชาติ มีวันและระยะเวลาดังต่อไปนี้
การชักธงและประดับธงชาติในโอกาสและวันพิธีสำคัญอื่น ๆ ทางราชการจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
ส่วนการลดธงครึ่งเสานั้น นายกรัฐมนตรีจะสั่งการผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นคราว ๆ ไป[26] เช่น เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 15 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการถวายความอาลัยในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์[29]

การประดับธงชาติไทยประจำสถานที่ราชการในโอกาสปกติ

[แก้]กำหนดเวลาชักธงชาติ


โดยปกติแล้ว ตามสถานที่ราชการต่าง ๆ จะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 8.00 น. และเชิญธงลงในเวลา 18.00 น. เป็นประจำทุกวัน (ในภาพ เป็นการเชิญธงชาติประจำวันของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร)
เวลาชักธงชาติโดยปกติ กำหนดให้ชักธงขึ้นในเวลา 8.00 น. และชักธงลงเวลา 18.00 น. สำหรับอาคารสถานที่และยานพาหนะฝ่ายทหารนั้น ให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของฝ่ายทหาร ส่วนในเรือเดินทะเลนั้น ให้ปฏิบัติตามธรรมเนียมชาวเรือ[26]
สำหรับการชักธงชาติในโรงเรียนและสถานศึกษานั้น ปัจจุบันนี้ได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547[30] ซึ่งกำหนดให้โดยปกติแล้ว ให้สถานศึกษาชักธงขึ้นเวลาเข้าเรียน และชักธงลงเวลา 18.00 น. ในวันเปิดเรียน ส่วนวันปิดเรียนนั้น ให้ชักธงขึ้นในเวลา 8.00 น. และชักธงลงเวลา 18.00 น. หากสถานศึกษาใดมีความจำเป็นไม่อาจชักธงขึ้นลงตามกำหนดที่กล่าวมา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยต้องสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529[26]

[แก้]การประดับธงชาติ

การประดับธงชาติไทยคู่หรือร่วมกับธงอื่นยกเว้นธงพระอิสริยยศ โดยหลักแล้วธงชาติไทยจะต้องอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำว่าธงอื่น ๆ และโดยปกติให้จัดธงชาติอยู่ที่เสาธงแรกด้านขวา (เมื่อมองดูออกมาจากภายใน หรือจุดของสถานที่ที่ใช้ชัก แสดง หรือประดับธงเป็นหลัก) ถ้าหากเป็นการประดับในงานพิธีซึ่งมีแท่นหรือมีที่สำหรับประธาน ธงชาติจะต้องอยู่ทางขวามือเสมอ ในกรณีที่ประดับกับธงอื่นซึ่งรวมกันแล้วได้จำนวนเป็นเลขคี่ ธงชาติไทยจะต้องอยู่ตรงกลาง ถ้ารวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ธงชาติไทยต้องอยู่กลางขวา หลักการเช่นนี้อนุโลมใช้กับการประดับธงชาติไทยคู่กับธงต่างประเทศด้วย เว้นแต่ว่าจะข้อตกลงระหว่างประเทศกำหนดไปเป็นอย่างอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นเป็นกรณีไป
การประดับธงชาติในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมกีฬาระหว่างประเทศ หรือตามหลักสากลที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ
สำหรับการประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับพระพุทธรูปหรือพระบรมรูปในงานพิธีต่าง ๆ ธงชาติต้องอยู่ทางขวาของพระพุทธรูป พระบรมรูปนั้นต้องอยู่ด้านซ้าย[26]

[แก้]การเคารพธงชาติ


การแสดงความเคารพต่อธงชาติของทหารโดยการทำวันทยาหัตถ์ขณะทำพิธีธงลง
ชาวไทยแสดงความเคารพต่อชาติด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลงชาติ แม้จะไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม
การเคารพธงชาติในปัจจุบันได้ยึดถือหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กล่าวคือ เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง[26]

[แก้]การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต

ธงชาตินั้นสามารถใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศศพหรืออัฐิได้ โดยบุคคลที่สามารถใช้ธงชาติประกอบเกียรติยศได้นั้น[26] ได้แก่
  • ประธานองคมนตรี
  • ประธานรัฐสภา
  • นายกรัฐมนตรี
  • ประธานศาลฎีกา
  • ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
  • ผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยเหลือในการสู้รบ หรือเพื่อปกป้องอธิปไตยหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือเพื่อปราบปรามการกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐและพระมหากษัตริย์
  • ผู้เสียชีวิตจากการแสดงความกล้าหาญช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐ
  • บุคคลที่ทางราชการเห็นสมควร
ส่วนการใช้ธงชาติคลุมศพนั้น สามารถใช้ในการพิธีรับพระราชทานน้ำอาบศพหรือพิธีรดน้ำศพ หรือระหว่างการเคลื่อนย้ายศพเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา หรือในพิธีปลงศพตามประเพณีของทหารเรือ[26]

[แก้]การกระทำอันไม่สมควรต่อธงชาติและบทกำหนดโทษ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ข้อ 19 การกระทำต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพ มีดังนี้[31]
  • 19.1 การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ได้แก่ การกระทำต่อธงชาติรูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ ด้วยเจตนาเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า ซึ่งเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย
  • 19.2 การกระทำที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ เช่น
    • (1) การประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นในผืนธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีของธง
    • (2) การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงอันมีลักษณะตามข้อ (1)
    • (3) การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงไว้ ณ สถานที่หรือวิธีอันไม่สมควร
    • (4) การประดิษฐ์ธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใด ๆ โดยไม่สมควร
    • (5) แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตามข้อ (4)
การกระทำการต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพมีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนี้[32][26]
  1. กระทำการใด ๆ ต่อธงชาติหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. กระทำการใด ๆ ต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ตามข้อ 19.2 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ผู้ใดกระทำการกระทำใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธง รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[แก้]ธงอื่นที่ดัดแปลงลักษณะจากธงชาติ

โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดธงอย่างอื่นที่ความหมายถึงชาติของประเทศต่าง ๆ ล้วนมีการดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติเกือบธงหมด เช่น ธงราชนาวีของกองทัพเรือไทย ซึ่งตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 นับเป็นธงที่มีความหมายถึงชาติเช่นเดียวกับธงชาติไทย มีลักษณะเป็นธงไตรรงค์ ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่นมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ตรงกลางในวงกลมสีแดง ปลายขอบวงกลมสีแดงนั้นจดกับขอบแถบสีแดงพอดีทั้งสองด้าน ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของกองทัพเรือไทยนั้น ถือว่าธงนี้พัฒนามาจากธงแดงและธงเรือหลวงของสยามในสมัยต่าง ๆ ก่อนที่จะมีลักษณะที่แตกต่างจากธงชาติไปเล็กน้อยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2434 เป็นต้นมา แบบธงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้กำหนดให้ใช้พร้อมกับธงไตรงค์ซึ่งเป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2460[9] แม้ธงฉาน ซึ่งเป็นธงในราชการทหารที่ใช้สำหรับชักที่หัวเรือรบและใช้เป็นเครื่องหมายของเรือพระที่นั่งและเรือหลวง ก็มีพื้นเป็นธงไตรรงค์เช่นกัน แต่ว่าได้เพิ่มตราสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของกองทัพเรือไว้ เพื่อให้ต่างจากธงชาติอย่างชัดเจน[9]
ธงของทหารอีกอย่างหนึ่งซึ่งทหารทุกคนถือว่าเป็นธงที่สำคัญยิ่ง และเป็นธงที่จะต้องรักษาเอาไว้ด้วยชีวิต คือ ธงชัยเฉลิมพล ธงนี้เป็นธงประจำกองทหารซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้เชิญไปในพิธีการสำคัญทางทหารที่เป็นเกียรติยศของชาติและเชิญออกไปกับหน่วยทหารในยามทำสงคราม โดยถือว่าเมื่อธงชัยเฉลิมพล ไปปรากฎ ณ ที่ใดเสมือนหนึ่งพระมหากษัตริย์ได้สด็จพระราชดำเนินไปในกองทัพทหารนั้นด้วย[33]ลักษณะโดยรวมนั้นเป็นรูปธงไตรรงค์สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ขึ้นอยู่กับลักษณะที่กำหนดไว้โดยละเอียดในพระราชบัญญัติธง และกฎกระทรวงตามกฎหมายดังกล่าว) แต่ตรงกลางมีรูปเครื่องหมายประจำกองทัพที่สังกัดและจารึกชื่อของหน่วยทหารไว้ ที่บริเวณมุมธงชัยเฉลิมพลของทุกหน่วย (ยกเว้นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารเรือ) มีเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อเปล่งรัศมีสีฟ้า และเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานธงภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ส่วนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะใช้ธงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ[17]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖ องค์การค้าคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒ เรื่อง "เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนธงชาติ".
  2. ^ ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๐.
  3. ^ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2475), หน้า 1
  4. 4.0 4.1 พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย (ธงไตรรงค์). "ประวัติ ความเป็นมา และรูปแบบธงชาติไทย". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๖, เล่ม ๑๔, ตอน ๒, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๒๙
  6. 6.0 6.1 6.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๕๔๑
  7. ^ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2475), หน้า 2
  8. ^ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2475), หน้า 3
  9. 9.0 9.1 9.2 ธงราชนาวีและธงที่ใช้ในกองทัพเรือ (พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ)
  10. 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชวินิจฉัยเรื่องธงชาติ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๐๗
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ พุทธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๓๘ (พระบรมราชโองการนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2459 ซึ่งถ้านับตามปฏิทินปัจจุบันแล้วจะตรงกับ พ.ศ. 2460)
  12. 12.0 12.1 12.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ก, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๑๗๖
  13. 13.0 13.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐, เล่ม ๓๔, ตอน ๐ก, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐, หน้า ๔๓๖
  14. ^ "สงครามโลกครั้งที่ 1 การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2457-2461". สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. 11 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  15. ^ ราชกิจจานุเบกษา, บรรทึกเรื่องธงชาติ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๗๓
  16. 16.0 16.1 16.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙, เล่ม ๕๓, ตอน ๐ก, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙, หน้า ๘๖๕
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒, เล่ม ๙๖, ตอน ๑๑ ก ฉบับพิเศษ, ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒, หน้า ๑
  18. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐, เล่ม ๑๒, ตอน ๑๘, ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๑๓๙ (ดูภาพธงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ที่เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ธงสยาม)
  19. ^ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ชัชชวลิต เกษมสันต์ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๗ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๑๗ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
  20. ^ ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม (2546), หน้า 96
  21. ^ ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม (2546), หน้า 101
  22. ^ ราชกิจจานุเบกษา (31 ธันวาคม พ.ศ.2483). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการชักธงชาติ". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  23. ^ ราชกิจจานุเบกษา (31 ธันวาคม พ.ศ.2487). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการชักธงชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๘". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  24. ^ คู่มือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติ (2551), หน้า 11
  25. ^ คู่มือธงไตรรงค์ ธำรงไทย (2554), หน้า 13
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 26.6 26.7 26.8 ราชกิจจานุเบกษา (3 เมษายน พ.ศ.2529). "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๙". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  27. ^ ราชกิจจานุเบกษา (31 กรกฎาคม พ.ศ.2546). "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  28. ^ ราชกิจจานุเบกษา (9 สิงหาคม พ.ศ.2547). "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  29. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  30. ^ ราชกิจจานุเบกษา (17 พฤศจิกายน พ.ศ.2547). "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.
  31. ^ คู่มือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติ (2551), หน้า 29
  32. ^ คู่มือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติ (2551), หน้า 29-30
  33. ^ นางสาวเพลินพิศ กำราญ (9 สิงหาคม พ.ศ.2547). "ธงชัยเฉลิมพล"จุลสารการจัดการองค์ความรู้ สำนักพระราชวัง. สำนักพระราชวัง. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2013.

[แก้]บรรณานุกรม

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2475). ปาฐกถาตำนานธงไทยในสมัยต่าง ๆ. พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางสาวอร่าม สุนทรวร. โสภณพิพรรฒธนา.
  • สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (2551). คู่มือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติ. บริษัท เซเว่น พรื้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
  • สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (2554). คู่มือธงไตรรงค์ ธำรงไทย. อรุณการพิมพ์. ISBN 978-616-235-058-0.
  • ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม (2546). การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย. สำนักพิมพ์มติชน.

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]แหล่งอื่น